ใบหูกวางกับกุ้งก้ามแดง

       ใบหูกวางกับกุ้งก้ามแดง 



ใบหูกวางกับกุ้ง
ถามว่าจำเป็นไหม ตอบว่า มีก็ดี ใช้ก็ดี เพราะใบหูกวางมีสารเทนนิน มีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยในการยับยั้งแบคที่เรียที่จะก่อให้เกิดโรคกับกุ้ง
2. ช่วยในการป้องกันปรสิตที่จะมาเกาะที่ตัวกุ้ง
3. ช่วยในการลดความเครียดให้กับกุ้ง
4. ช่วยในการรักษาแผล สมานแผล
5. ช่วยในการเร่งสีให้สวยงาม
วิธีใช้ 
 นำใบแก่ แห้ง ที่ไม่มีเชื้อรา ห้ามใช้ใบสด เพราะอาจจะมียาง เป็นพิษได้ นำมาต้มจนใบหูกวางจม แล้วเทน้ำทิ้ง แช่ไว้ในน้ำเปล่า 1 คืน จากนั้นก็เอาให้กุ้งกินได้เลย แต่อย่าลืมเอาก้านกลางออกด้วยนะครับ ส่วนนั้นมันแข็งกุ้งบ่กิน ใบหูกวาง จะเหมาะมากถ้าใส่ไว้ให้แม่ลูกอ่อนได้แทะเล่นช่วงตั้งท้อง
ขอขอบคุณ เครดิต กุ้งเครฟิช กุ้งก้ามแดง ภาคใต้ฟาร์ม

หลักการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

หลักการเลี้ยงกุ้งเครฟิช 
           กุ้งเครฟิชมีหลักการเลี้ยงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือดัดแปลงมาจากอุปนิสัยและการอยู่อาศัยของมันเองคือ 
           1.โดยธรรมชาติ กุ้งทุกชนิดชอบออกหากินในเวลาคืน ไม่ชอบแสง ดังนั้นกลางวันอาจจะนอนหรือหลบทั้งวัน  จึงต้องการที่หลบซ่อนและปิดบังจุดที่กุ้งจะปีนหลบหนีได้  ยกเว้นกุ้งที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในบ้านเราจะคุ้นเคยกับการเลี้ยงและฝึก อาหาร 
           2.มีก้ามเป็นอาวุธไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเอง กุ้งตัวผู้จะมีขนาดของก้ามที่ใหญ่โตสง่างาม  สีสรรสวยงามและแข็งแรงกว่ากุ้งตัวเมีย
           3. กุ้งอ่อนแอที่สุดเวลาลอกคราบ  มักจะถูกรุมทำร้ายหรือจับกิน  ดังนั้นอาหารต้องพอเพียง  ตู้ต้องกว้างเพียงพอและมีที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย 
           4.กุ้งแยกกันกินแยกกันอยู่หรืออาจจับคู่ในระยะสั้นๆ จึงไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายตัวในที่แคบๆ ส่วนมากจะกุ้งจะไม่จำว่าเป็นคู่ของมัน ถ้าหิวหรือลอกคราบอาจทำร้ายกันได้เสมอ
         
ตู้เลี้ยงและอ่างเลี้ยงกุ้ง
           1.เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในภาชนะใดๆก็ได้ ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดี  ไม่ร้อนเกินไป อุณหภูมิน้ำ ประมาณ  23 -28 องศา  อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้  น้ำครึ่งตู้ น้ำเต็มตู้ก็ได้ หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอ  กุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1  ฟุต
           2.ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้ง สายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกัน เพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้  มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็ก มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน
           3.ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้ กระถางดินเผา กระถางต้นไม้แตกๆ อุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวัน กุ้งใหญ่   
          4.ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้
วัสดุปูรองพื้น
           การเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในตู้ เพื่อความสวยงามควรปูหินกรวดเล็ก รองพื้นตู้ ซึ่งมีมีประโยขน์ต่อกุ้งหลายประการคือ
          1.ทำให้กุ้ง ไม่ตื่นตกใจ และมีสรรสวยงามมากขึ้น กุ้งสามารถปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าเน้นหินสีดำหรือน้ำตาล จะทำให้กุ้งมีสีเข้มขึ้น
          2.กุ้งป่า ส่วนมากจะขุด กรวดหิน เป็นที่หลบซ่อน
          3.หินกรวดช่วยดูดซับตะกอนและเศษอาหาร  ทำให้น้ำในตู้ใสอยู่เสมอ

การให้อากาศและระบบกรองน้ำ
          ถ้าเราเลี้ยงกุ้งแค่ตัวเดียว  และมีพื้นที่กว้างและดูแลน้ำได้ดี  ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศก็ได้ 
         แต่ในระบบตู้เลี้ยง ซึ่งเน้นความสวยงาม  และเลี้ยงกุ้งหลายตัว หรือ กั้นตู้  การให้อากาศยังจำเป้นอยู่มาก  แต่กุ้งใช้อากาศน้อยกว่าปลา  สามารถใช้หัวทรายจุ่มลงในน้ำ  3-4 นิ้ว กันฟุ้ง  หรือใช้กรองในตู้  กรองแขวน กรองกล่องได้  ยกเว้นกรองแผ่นพื้นจะโดนกุ้งขุด และกรองฟองน้ำอาจโดนกุ้งแทะเล่น 

น้ำ
          อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28 องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 8.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้เล็กน้อย เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ  สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 30 -50 %ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงและการให้อาหาร  แต่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ดี

อาหารการกิน
         กุ้งเครฟิช  กินอาหารได้แทบทุกชนิด นิสัยของกุ้งจะกินอาหารได้ทั้งวัน แต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลัก ในที่ เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้  อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ 

การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม
          ถึงแม้ว่าในธรรมชาตินั้นCrayfish จะเก็บเศษซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหารหลัก แต่ในที่เลี้ยงสถานที่ที่มีอาหารอย่างจำกัดนั้น มันจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กินเป็นอาหาร โดยเฉพาะกุ้งขนาด  1.5 – 2.5 นิ้ว มักจะชอบไล่จับปลากิน ส่วนกุ้งขนาดใหญ่ นิสัยนักล่ามันจะลดลง  หากต้องการเลี้ยงปลากับกุ้งด้วยกันให้ยึดหลักดังนี้
         1.ขนาดตู้ ต้องกว้างเพียงพออย่างน้อย 24 นิ้ว น้ำลึกอย่างน้อย 1 ฟุต 
         2.เลือกชนิดปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำเร็ว  หรือหากินกลางน้ำ ปลาที่ว่ายน้ำช้า ปลาที่มีครีบยาวๆ ปลาที่มีนิสัยนอนพื้นตู้ ไม่ควรเลี้ยงเด็ดขาด 
         3.ปลาเทศบาล ที่เลี้ยงได้เช่น ปลาซัคเกอร์ น้ำผึ้ง ปลาจิ้งจก 

วิธีการเลือกซื้อ Crayfish
         1.เลือกกุ้งที่มีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ2 ข้าง ขาเดินครบทั้ง4 คู่ 
          2.มีเปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบ ซึ่งร่างกายอ่อนแอ 
         3.เลือกกุ้งที่แข็งแรง มีอาการตอบสนองป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเอง หลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือ พยายามปีนป่ายหนีเมื่อนำมาใส่ภาชนะ
          4.เลือกซื้อกุ้งคุณภาพจากร้านและฟาร์มที่ท่านไว้ใจ และสังเกตจากสภาพน้ำและภาชนะที่วางขาย
         5.กรณีที่เป็นกุ้งนำเข้าจากต่างประเทศ  ควรได้รับการปรับสภาพ พักและเปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป ( หายาก )

กุ้งก้ามแดง

กุ้งก้ามแดง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กุ้งเครย์ฟิช-Crayfish” โดยเราจะคุ้นหูคำว่า “กุ้งล็อปเตอร์” นั่นเอง นับเป็นกุ้งที่ถือเป็นอาหารรสเลิศที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี และมีการเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจกันในหลายประเทศทั่วโลก โดยประเทศผู้ส่งออกกุ้งชนิดนี้รายใหญ่ ก็คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย ฯลฯ กุ้งเครฟิชหรือกุ้งล็อปเตอร์ นับเป็นกุ้งที่เชฟระดับโลกให้การยอมรับว่า เป็นกุ้งที่มีรสชาติอร่อย เลิศรสที่สุดในบรรดากุ้งแม่น้ำทั้งหมด จึงทำให้ร้านอาหารทั่วโลกมีเมนูกุ้งล็อปเตอร์ให้ทานกันทั่วโลกเลยทีเดียว

รู้จักกับกุ้งก้ามแดง...สัตว์เศรษฐกิจจากโครงการหลวงเพื่อเกษตรกรไทย
กุ้ง ก้ามแดงเป็นที่รู้จักทั่วโลกแต่กุ้งก้ามแดงในบ้านเรากลับไม่เป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางมากนัก นั่นอาจเป็นเพราะความไม่เข้าใจในเทคโนโลยีการเลี้ยงที่ยังไม่มีการศึกษาและ ขยายการเลี้ยงเป็นอาชีพอย่างจริงจัง กุ้งชนิดนี้เป็นที่รู้จักบ้างในตลาดการเลี้ยงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่วันนี้กุ้งก้ามแดงกำลังได้รับความสนใจในฐานะสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่า ลงทุนอย่างมาก โดยได้แนวคิดมาจาก โครงการหลวง ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งผู้ที่นำกุ้งชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเล็งเห็นความต้องการของตลาด ทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและได้ให้ โครงการหลวง ดอยอินทนนท์ เป็นผู้ศึกษาทดลองเลี้ยง ผลผลิตรุ่นแรกที่ผลิตได้ถูกใช้ประกอบอาหารในการถวายเลี้ยงแก่พระราช อาคันตุกะในวันที่ 13 มิถุนายน 2549 ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัว และได้ทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าวของเกษตรกรที่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จนนำมาสู่การเลี้ยง และขยายพันธุ์กุ้งก้ามแดงเป็นเพื่อจำหน่ายเชิงการค้าได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา