สารประกอบไนโตรเจน (แอมโมเนีย และ ไนไตรท์)

   สารประกอบไนโตรเจน (แอมโมเนีย และ ไนไตรท์)
น้ำเสีย ส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการเช่น การตกหล่นของอาหาร การเน่าเสียของน้ำในบ่อเลี้ยง เกิดจากการสะสมของอาหารที่สัตว์น้ำกิน รวมทั้งสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ ของสัตว์น้ำนั้นเอง และในบางครั้งสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงอาจตายลงโดยผู้เลี้ยงไม่รู้ และเกิดการเน่าขึ้นได้ ซึ่งการเน่าและหมักของสิ่ง ปฎิกูล จะทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจน ซัลไพค์ ก๊าซไนไตรท์ ซึ่งเป็นอันตรายกับสัตว์น้ำได้ 

   ก๊าซแอมโนเนีย เกิดจากการเน่าเสียของเศษอาหาร และมูลของสัตว์น้ำ ทับถมกันเป็นระยะเวลานาน จะมีการเปลี่ยนปฎิกริยาทางเคมี ออกมาเป็นรูปก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อระบบการหายใจ เมื่อแอมโมเนียในน้ำปริมาณสูงขึ้น จะมีผลให้การขับถ่ายแอมโมเนียของกุ้งทำได้น้อยลงทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนียในเลือดและเนื้อเยื่อ ส่งผลให้พีเอชของเลือดเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์ แอมโมเนียจะทำให้การใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อสูงขึ้น แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและความสามารถในการขนส่งออกซิเจนและทำให้กุ้งอ่อนแอติดโรคได้ง่าย ป่วย และตายได้

   ก๊าซไนไตรท์ เป็นการเปลี่ยนกระบวนการ หรือถ่ายสสารจากก๊าซแอมโมเนีย แตกตัวเปลี่ยนมาเป็นก๊าซไนไตรท์ ซึ่งจะออกฤทธิ์อย่างร้ายแรง เมื่อสภาพน้ำมีค่า pH ต่ำหรือมีความเป็นกรด ซึ่งเมื่อออกฤทธิ์จะทำให้ระบบทางเดินหายใจของสัตว์น้ำ จะทำให้เกล็ดเลือดเป็นพิษ สัตว์น้ำจะหายใจไม่ออก เกิดการตายเนื่องจากการขาดออกซิเจน (ระดับความเป็นพิษของไนไตรท์จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO) และค่าพีเอชน้ำลดลง )  ความเป็นพิษของไนไตรท์จะถูกยับยั้งโดยคลอไรด์ในน้ำ ดังนั้นในน้ำทะเลซึ่งมีคลอไรด์สูงความเป็นพิษของไนไตรท์ต่อสัตว์น้ำจึงค่อนข้างต่ำ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในระบบความเค็มต่ำซึ่งน้ำในบ่อมีปริมาณของคลอไรด์ในน้ำน้อย ปัญหาความเป็นพิษของไนไตรท์ในบ่อกุ้งจึงเกิดได้ง่ายกว่า การใส่เกลือหรือเติมเกลือลงในน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างมากหากพบว่าค่าไนไตรท์ในบ่อสูง 

   ดังนั้นการป้องกันหรือแก้ปัญหาเรื่องความเป็นพิษของแอมโมเนีย และไนไตรท์สูง โดยการควบคุมการให้อาหาร ใส่เกลือ หรือ เกลือแร่ธาตุ อีกทั้งมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำและการให้อากาศที่พอเพียงปัญหาความเป็นพิษจากสารประกอบไนโตรเจนทั้งสองตัวนี้จะหมดไป


การเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดง

      ถ้ากุ้งก้ามแดงมีความเจริญเจิบโตอย่างสม่ำเสมอ ขนาดของกุ้งจะสัมพันธุกันกับระยะเวลาของอายุกุ้ง หรือคลาดเคลื่อนไม่มาก นอกเสียจากกุ้งจะไม่สมบูรณ์นั่นก็เป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้เกิดภาวะกุ้งแคระ และจะขอยกตัวอย่างให้ดูกัน ในระยะการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดงเป็นช่วงๆไปโดยประมาณหรือโดยเฉลี่ยดังนี้

ระยะการเจริญเติบโต
ลงเดิน - 1 นิ้ว ประมาณ 30 วัน
1นิ้ว - 2 นิ้ว ประมาณ 30-35 วัน (แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละตัว) 
2นิ้ว - 3 นิ้ว ประมาณ 30-45 วัน (แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละตัว) 
3นิ้ว - 4.5 นิ้ว ประมาณ 45-60 วัน (พร้อมเป็นพ่อ-แม่ พันธุ์ แล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละตัว)

**สรุปทั้ง 4 ระยะจนถึงพร้อมเป็นพ่อ-แม่ พันธุ์ ก็ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนขึ้นไป 
จะเห็นว่าขนาดของกุ้งที่พร้อมผสมพันธุ์ เป็นได้ตั้งแต่ขนาด 3 นึ้วขึ้นไปขึ้นอยู่กับอายุของกุ้ง.

ระยะผสมพันธุ์ 
ช่วงนี้จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งเกี่ยวกับตัวกุ้งเอง และคนเลี้ยง ว่าจะเลี้ยงกุ้งให้สมบูรณ์ได้แค่ไหน ถ้ากุ้งสมบูรณ์และพร้อมผสมพันธุ์ก็ใช้เวลาในการผสมไม่นาน ประมาณ 2 สัปดาห์

ระยะฟักไข่ 
ระยะฟักไข่ ใช้เวลาประมาณ 35-45 วัน



Neng Crayfish

เดสทรัคเตอร์ Destructor

เดสทรัคเตอร์ Destructor กำลังจะลอกคราบ จึงจับออกแยกจากกลุ่มเพื่อนๆของมัน เพื่อลดการสูญเสียขณะลอกคราบ ถือโอกาสถ่ายรูปมาลงให้ดูกันคลายเครียดเล่นๆครับ
Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish

Destructor by Neng Crayfish
Neng Crayfish

วิธีดูเพศของกุ้งก้ามแดง

วิธีดูเพศของกุ้งก้ามแดง



Neng Crayfish

บ่อฟิวเจอร์บอร์ด

       ขั้นตอนวิธีการทำ บ่อฟิวเจอร์บอร์ดสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ สัตว์น้ำอย่างอื่นๆได้
สบายๆ สไตล์ Neng Crayfish










ขอแก้ไขตัวเลขนิดนึงนะครับ 2 ตำแหน่ง เปลี่ยนจาก 57cm เป็น 58.5cm และ จาก 25cm เป็น 24cm ครับผม




ถังกรองน้ำวนบำบัดน้ำเสีย

วันนี้มาเสนอการทำ ถังกรองน้ำวนบำบัดน้ำเสีย ทำเองแบบง่ายๆกันครับ