การวัด pH และ alkalinity ของน้ำ

การวัดค่า pH ของน้ำ
1.นำน้ำที่ต้องการวัดค่า pH ลงในหลอดพลาสติกทดลองที่ล้างสะอาดแล้ว ขนาด 5 มิลลิลิตร
2.หยดน้ำยาวัด pH ลงในหลอดพลาสติกทดลอง 1หยด ให้ผสมกับน้ำ
3.นำน้ำในหลอดพลาสติกทดลองมาสีเทียบกับแผ่นตรวจสอบ เหมือนกับสีไหนก็ได้ค่า pH ตามนั้น ซึ่งค่าที่เหมาะสมเลี้ยงกุ้งควรอยู่ที่ pH 7-8.5

การวัดค่าอัลคาไลน์ของน้ำ (alkalinity)
1.นำน้ำที่ต้องการวัดค่าอัลคาไลน์ ลงในหลอดพลาสติกทดลองที่ล้างสะอาดแล้ว ขนาด 5 มิลลิลิตร
2.หยดน้ำยาอินดิเคเตอร์ลงในหลอดพลาสติกทดลอง 1หยด จะเปลี่ยนเป็น สีฟ้าแกมน้ำเงิน
3.หยดน้ำยาไตแตรนท์ ลงในหลอดพลาสติกทดลองทีละ 1 หยดแล้วเขย่าให้เข้ากัน และค่อย ๆ หยดทีละ 1 หยดช้าๆแล้วเขย่าไปเรื่อย (นับหยด) จนน้ำในหลอดพลาสติกทดลองเปลี่ยนเป็นสีส้ม
จากนั้น เอาจำนวนหยด มาคูณด้วย 17 (การคูณขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของน้ำยาวัด) ก็จะได้ค่าอัลคาไลน์ของน้ำ ซึ่งค่าอัลคาไลน์ ในน้ำที่เหมาะสมเลี้ยงกุ้งควรอยู่ที่ 80-150
ตัวอย่าง
ถ้าสมมติ หยดน้ำยาไตแตรนท์ ลงในหลอดพลาสติก ได้หยดที่ 7 น้ำในหลอดเปลี่ยนเป็นสีส้ม
เราก็เอา 7 x 17 จะได้ค่า อัลคาไลน์ของน้ำ = 119 ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสม


ปล. บทความนี้หมายถึงค่าที่เหมาะสมนะครับ ไม่ได้บอกว่าจะต้องได้ค่านี้เท่านั้น

สาเหตุของกุ้งทยอยตายเรื่อยๆแบบไม่ทราบที่มาที่ไป

        สาเหตุของกุ้งทยอยตายเรื่อยๆแบบไม่ทราบที่มาที่ไป อาจเป็นได้หลายประการ แต่หากเราป้องกันไว้เหตุการแบบนั้นคงไม่เกิดได้ง่ายๆ จะยกตัวอย่างสาเหตุให้ฟังแบบคร่าวๆ อาจเป็นแนวทางให้ได้ครับ ปัจจัยต่างๆอาจไม่ทำให้กุ้งตายได้ แต่ถ้าหากหลายๆอย่างมีร่วมกันก็สามารถทำให้กุ้งตายได้เหมือนกัน ยิ่งกับลูกกุ้งยิ่งตายง่าย

1. ค่า pH ในน้ำอาจไม่เหมาะสม ควรจะอยู่ที่ 7 - 8.5 สำหรับเลี้ยงกุ้งนะครับ
2. ค่า alk ในน้ำอยู่ในช่วงไม่เหมาะสม ควรจะอยู่ที่ 80-150 หรือถ้ามากเกินไป เช่น น้ำบาดาลอาจมีค่า อัลคาไลน์ (alk) เข้มข้นมากเกิน 200 ขึ้นไป
*3. อ๊อกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ และบ่ออาจจะไม่มีลมพัดผ่าน มีสาหร่ายที่ผิวน้ำหนาแน่นมากไปทำให้ตอนกลางคืนสาหร่ายมีการดูดซับอ๊อกซิเจนมากเกิน
4. อันตรายจากปั๊มลมที่ดูดอากาศเป็นพิษ เช่นควันต่างๆ ผ่านหัวทรายลงสู่บ่อกุ้ง
5. แดด หรือ ปัจจัยอื่นทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำร้อนเกินก็ทำให้กุ้งตายได้ครับ อุณหภูมิที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 23-28 องศา
6. กุ้งขาดธาตุ ทำให้การลอกคราบมีปัญหา
7. การสะสมเศษอาหารที่เหลือใต่ก้นบ่อมากๆทำให้เกิดแอมโมเนียในน้ำ และระดับอ๊อกซิเจนลดลงจนทำให้กุ้งทยอยตาย
8.สิ่งที่พึงระวังมากที่สุก คือเรื่องของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อกุ้งโดยตรง (ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต)


หมายเหตุ*
การสังเคราะห์ด้วยแสงกับการหายใจของพืช       
             เวลากลางวัน พืชมีการหายใจตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนในเวลากลางวันพืชจะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจและปล่อยออกสู่สิ่วแวดล้อมแล้วนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และพืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนเป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสงออกสู่สิ่งแวดล้อม        
             เวลากลางคืน พืชจะไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือมีกาสังเคราะห์ด้วยแสงน้อยมาก เพราะปริมาณแสงมีไม่เพียงพอ พืชจะใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอกไซด์ออกมา

              Neng Crayfish

Procambarus Clarkii Ghost (จับคู่ผสม)

Procambarus Clarkii Ghost

ทำบัญชีไว้ครับว่าตัวไหนผสมกันบ้าง เป็นรหัสของแต่ละตัว ทีนี้ก็มารอลุ้นไข่และลูก
Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost
Procambarus Clarkii Ghost 

Procambarus Clarkii Ghost 

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost

Procambarus Clarkii Ghost
Neng Crayfish

C.Destructor vs P.Clarkii Ghost

เปลี่ยนน้ำใหม่ จับมาถ่ายรูป 
C.Destructor vs P.Clarkii Ghost
C.Destructor

C.Destructor

C.Destructor

C.Destructor

เพิ่มคำอธิบายภาพ

C.Destructor

เพิ่มคำอธิบายภาพ

C.Destructor

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

P.Clarkii Ghost

http://nengcrayfish.blogspot.com

Neng Crayfish